โครงงานคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การลดปริมาณขยะ

"ลดปริมาณขยะ ช่วยประหยัดทรัพยากร เริ่มเสียก่อนที่ตัวท่าน"
ขยะ เป็นปัญหาใหญ่อันดับหนึ่งในสังคมปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะสูงถึง 8.5 พันตันต่อวัน หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว 1 คนจะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ 0.8 - 1 กิโลกรัมต่อวัน จึงเป็นภาระหนักของ กทม. ในการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายนี่เองส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในสังคมมากมาย ได้แก่
- บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
- เป็นแหล่งเพราะพันธุ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
- ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ
- ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย
- ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม
- เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิด ก๊าชมีเทนจากการฝังกลบขยะ
- ขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม
โครงการรณรงค์ให้ประชาชนทุกคนร่วมกันคัดแยกขยะ จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการลดปริมาณขยะที่ออกมาจากบ้านเรือน สำนักงานและสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน


สาเหตุที่เราทุกคนควรช่วยกันคัดแยกขยะ
"ช่วยกันแยก ช่วยกันลด หมดปัญหาขยะ"
การแยกขยะก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างมหาศาลดังต่อไปนี้
1. สามารถลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง ซึ่งขยะนี้สถานที่ที่ใช้ทำลายขยะก็นับวันแต่จะหายากลงทุกวัน
2. สามารถประหยัดงบประมาณลงได้ เพราะในเมื่อเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลงจึงใช้งบประมาณน้อยลงในการเก็บขนและกำจัดหรือทำลายขยะ เช่น สามารถซื้อถังขยะให้น้อยลง สามารถซื้อรถเก็บขนขยะให้น้อยลง สามารถมีคนงานจำนวนน้อยลง และใช้เงินจ้างในการกำจัดและทำลายขยะน้อยลง ปัจจุบัน กทม. ต้องเก็บขนและทำลายขยะวันละเกือบ ๙,๐๐๐ ตัน ต้องใช้งบประมาณถึงประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท/ต่อปี ในการจัดการเก็บขนและทำลายขยะ ใช้เจ้าหน้าที่กว่า ๑๐,๐๐๐ คน ใช้รถเก็บขนขยะกว่า ๒,๐๐๐ คัน ใช้เรือเก็บขนขยะหลายสิบลำ ใช้ถังขยะนับหมื่นใบ ต้องจ้างฝังกลบขยะในราคาตันละกว่า ๑๐๐ บาท และใช้เงินเป็นเงินเดือนเจ้าหน้าที่อีกมหาศาล ถ้าปริมาณขยะลดลง งบประมาณก็สามารถเหลือนำไปพัฒนางานด้านอื่นได้ เช่น ซ่อมแซมถนน สร้างสวนสาธารณะ และการรักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งงบประมาณเหล่านี้ก็ได้จากภาษี และค่าธรรมเนียมที่พวกเราทุกคนจ่ายให้แก่ กทม.
3. สามารถได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ เช่น กระดาษ ๑ ตัน ได้มาจากการตัดต้นไม้ใหญ่ถึง ๑๗ ต้น เพื่อมาใช้ทำเยื่อกระดาษ
4. สามารถสงวนทรัพยากรธรรมชาติและประหยัดพลังงาน จากข้อ 3 จะได้ผลเป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน เพราะนอกจากจะลดการใช้วัสดุที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังไม่ต้องใช้พลังงานในการขุดค้น เช่น ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกนั้น แทนที่จะต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่งกว่าจะได้ต้องใช้พลังงานมากมาย ก็ใช้พลาสติกที่ผ่านการใช้แล้วนำมาหลอมใช้ใหม่
5. สามารถช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะในเมื่อขยะน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะต้องดีขึ้น สะอาดขึ้นปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ที่กล่าวมาทั้ง 5 ประการก็เป็นผลประโยชน์ของเราทุกคนร่วมกัน



เราจะช่วยแยกขยะกันอย่างไรบ้าง
กรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) ขยะเศษอาหาร พืช ผัก ผลไม้ หรือที่แต่เดิม กทม. เรียกว่า ขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร พืช ผัก เปลือก ผลไม้ อินทรียวัตถุที่ย่อยสลายเน่าเปื่อยง่าย มีความชื้นสูงและส่งกลิ่นเหม็นได้รวดเร็ว
2) ขยะยังใช้ได้หรือเรียกว่าขยะรีไซเคิล หรือที่ แต่เดิม กทม. เรียกว่า ขยะแห้ง ได้แก่ พวก แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก เศษผ้า ฯลฯ ซึ่งเราสามารถเลือกวัสดุที่ยังมีประโยชน์กลับมาใช้ใหม่ได้อีก
3) ขยะที่มีพิษภัยอันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือน กทม. ได้ตั้งถังสีเทาฝาสีส้ม ไว้สำหรับให้ประชาชนนำขยะ ที่พิษภัยอันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือนมาทิ้ง โดยตั้งไว้ตามสถานีบริการน้ำมัน และสถานที่อื่น ๆ ซึ่งขยะพวกนี้ ได้แก่ หลอดไฟ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เสียแล้ว แบตเตอรี่รถยนต์ และถ่านไฟฉายที่หมดอายุ กระป๋องยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ภาชนะใส่แลกเกอร์ และทินเนอร์ ภาชนะใส่น้ำมันเครื่อง และน้ำมันเบรก น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ยารักษาโรค ที่เสื่อมคุณภาพ ฯลฯ รวมทั้งได้จัดให้มีวันทิ้งของเหลือใช้ เพื่อให้ประชาชนนำขยะประเภทนี้มาทิ้ง จากนั้นก็จะจ้างบริษัทเอกชนนำไปทำลายอย่างถูกหลักวิชาการต่อไป

ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากขยะพิษประเภทต่าง ๆ


ประเภทของสาร ผลิตภัณฑ์ที่พบ ผลต่อสุขภาพ
1. สารปรอท หลอดฟลูออเรสเซนต์ ปวดศรีษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย
หลอดนีออน ซึมเซา อารมณ์แปรปรวน จิตใจไม่สงบ
กระจกส่องหน้า ประสาทหลอน สมองสับสน สมองอักเสบ
2. สารตะกั่ว แบตเตอรี่รถยนต์ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซีดลง ปวดหลัง
ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ มีอาการทางสมอง
ตะกอนสี หมึกพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติลง
3. สารแมงกานีส ถ่านไฟฉาย ตะกอนสี ปวดศรีษะ ง่วงนอน จิตใจไม่สงบ
เครื่องเคลือบดินเผา ประสาทหลอน เกิดตะคริวที่แขน ชา
สมองสับสน สมองอักเสบ
4. สารแคดเมียม ถ่านนาฬิกาควอตซ์ ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต อาการปวดในกระดูก
5. สารฟอสฟอรัส ยาเบื้อหนู ตะกอนสี ฯลฯ เหงือกบวม เยื้อบุปากอักเสบ
6. สารเคมี สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
ประเภทอื่น ๆ ยาล้างเล็บ ยาฆ่าแมลง และเยื่อบุทางเดินหายใจ ปวดศรีษะ
ยารักษาโรค ยากำจัดวัชพืช หายใจขัด เป็นลม ฯลฯ


วิธีการลดขยะได้ด้วย 4 Rs

"ปัญหาขยะจะหมดไปด้วยจิตสำนึกไทยรีไซเคิล"
1. Reduce ลดการใช้ ลดการบริโภคสินค้าที่ฟุ่มเฟือย ใช้อย่างประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ทำอาหารให้พอดีรับประทาน เลือกซื้อสินค้าที่ไม่บรรจุห่อหลายชั้น ใช้ผ้าเช็ดหน้า แทนกระดาษทิชชู พกถุงผ้าไปตลาด
2. Repair การซ่อมแซม การซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุด ให้อยู่ในสภาพที่ดีใช้งานได้นาน ไม่ต้องทิ้งเป็นขยะหรือต้องสิ้นเปลืองซื้อใหม่
3. Reuse การใช้ซ้ำ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น ขวดแก้วนำไปล้างไว้ใส่น้ำดื่ม
4. Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ การนำขยะมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ทำให้ไม่ต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสิ่งของต่าง ๆ แต่ใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ

แนวทางการใช้ประโยชน์จากวัสดุรีไซเคิล
โดยทั่วไปการแยกขยะที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน โรงเรียน ตลาดโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และสถานที่อื่น ๆ นั้นแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ขยะเศษอาหาร แยกเพื่อนำไปกำจัดโดยวิธีปุ๋ยหมัก
2. ขยะยังใช้ได้ หรือขยะรีไซเคิลแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ โดยการนำกลับเข้าสู่ขบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล คือ การนำขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าใหม่ โดยโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีขบวนการผลิต 4 ขั้นตอน ได้แก่ การรวบรวม การแยกวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน การผลิตหรือปรับปรุง และสุดท้าย การนำมาใช้ประโยชน์ โดยในส่วนของขั้นตอนการผลิต นั้นวัสดุพวกแก้ว กระดาษ พลาสติก และโลหะ จะผ่านกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน
3. ขยะพิษ แยกเพื่อรวบรวมส่งกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจใช้ได้ทั้งวิธีการฝังกลบโดยวิธีพิเศษ และการเผา
หลังจากวัสดุผ่านกระบวนการผลิต จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยจะพบสัญลักษณ์รีไซเคิล ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลทุกชิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น